สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) หมายถึงสารที่เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปกติ จะมีอันตรายเฉพาะคนที่แพ้สารนั้นเท่านั้น ซึ่งอาการแพ้มีได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้และลักษณะจำเพาะของแต่ละบุคคล โดยแสดงอาการทางระบบผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกัน

โรคภูมิแพ้อาหาร/ การแพ้อาหาร (Food allergy) เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ออาหารหรือส่วนประกอบของอาหารโดยเข้าใจผิดคิดว่าอาหารนั้นเป็นพิษต่อร่างกาย ต้องกำจัดออก การตอบสนองนี้อาจเป็น Ig E-mediated หรือ non Ig E-mediated food allergy หรือทั้งสองชนิด อาการที่พบ เช่นผื่นคัน กลืนอาหารลำบาก เวียนศีรษะ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้  ส่วนใหญ่อาการเกิดขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

Food intolerance เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากอาหารแต่ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน จะพบอาการของระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่นอาการท้องเสียที่เกิดจากการดื่มน้ำนมเพราะไม่มีเอนไซม์สำหรับย่อยน้ำตาลแลคโตส เป็นต้น

การแพ้อาหารนั้นพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การแพ้อาหารบางชนิดเกิดในวัยเด็ก แต่เมื่อโตขึ้นอาการแพ้จะหายไป เช่นการแพ้นมวัวและไข่  การแพ้อาหารบางชนิดจะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่เท่านั้น

เกณฑ์การแสดงฉลากที่เกี่ยวข้องกับ Food Allergen
สำหรับประเทศไทย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ กำหนดให้ผู้ประกอบการแสดงฉลากเกี่ยวกับอาหารก่อภูมิแพ้ มีการกำหนดให้แสดงชนิดและส่วนประกอบของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้หรือสารที่ก่อภูมิไวเกิน จำนวน 9 ชนิดได้แก่ ธัญพืชที่มีกลูเตน สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ไข่ ปลา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง นม ถั่วเปลือกแข็ง และซัลไฟต์ (ที่มีปริมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

กฎระเบียบสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องแสดงในฉลากอาหาร (Allergen regulation)
กฎระเบียบในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ดังเช่น สหภาพยุโรปที่ใช้อ้างอิงคือ EU regulation 1169/2011 ซึ่งกำหนดว่าหากมีสารก่อภูมิแพ้ดังนี้ในอาหารให้ระบุที่ฉลากอาหาร ได้แก่ ธัญพืชที่มีกลูเตน ,นม,ไข่,ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ถั่วทรีนัท, ปลา, คื่นช่าย, มัสตาร์ด, งา, ลูปิน ,สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้ม ,สัตว์น้ำตระกูลมอลลัส และซัลไฟต์

การแพ้อาหารนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะ การได้รับสารก่อภูมิแพ้อาหารในปริมาณที่เล็กน้อยก็ทำให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงได้ ดังนั้นการติดฉลากส่วนประกอบอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ทำให้ผู้บริโภคเลือกรับประทานได้อย่างปลอดภัย หรือมีความมั่นใจว่าอาหารเหล่านั้นผ่านการทดสอบสารก่อภูมิแพ้อาหารมาแล้ว

การเลือกใช้เครื่องมือในการตรวจให้เหมาะสมและครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญ บริษัท จักรมาร์ติน อินเตอร์วิรอนเทค จำกัด ขอนำเสนอชุดทดสอบสารก่อภูมิแพ้อาหารจากประเทศเยอรมนีซึ่งมีทั้งชุดทดสอบแบบ Rapid test, Elisa และ Real-time PCR

ชุดทดสอบ Rapid Test (Lateral Flow)

เป็นชุดทดสอบที่ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว เหมาะสำหรับตรวจพื้นผิวการผลิต (swab test)

ชุดทดสอบ ELISA ในอาหารแปรรูป

เป็นชุดทดสอบหาปริมาณของอาหารก่อภูมิแพ้ มีความแม่นยำ สามารถตรวจได้ในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป

ชุดทดสอบ Real-time PCR

เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจหา DNA ของอาหารก่อภูมิแพ้ มีความละเอียดและแม่นยำมาก