ไวรัสไข้หวัดนก (Bird Flu, Avian Influenza virus) ไม่ใช่ไวรัสตระกูลใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Influenza A virus) ที่มีความสามารถในการก่อโรคในสัตว์ปีกได้นั่นเอง ในปัจจุบันนี้ได้พบว่า มันมี Hemagglutinin ทั้งหมด 18 ชนิด (H1-H18) และ Neuraminidase ทั้งหมด 11 ชนิด (N1-N11) โดยไวรัสแต่ละอนุภาคจะมี H และ N protein ชนิดใดก็ได้ เช่น H1N1, H3N2, H5N1, H7N1 และ H9N2 เป็นต้น

สัตว์ในตระกูลนกจะสามารถติดเชื้อ Influenza A virus ได้เกือบทุก subtype นอกจาก subtype H17N10 และ H18N11 ที่มีรายงานเฉพาะในค้างคาวเท่านั้น ในขณะที่ subtype H1N1 และ H3N2 เป็นไวรัสเพียง 2subtype เท่านั้นที่มีรายงานว่าสามารถติดเชื้อในมนุษย์และทำให้คนที่ติดเชื้อและป่วยได้  นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อ Influenza A virus ในสัตว์ชนิดอื่นๆได้อีกด้วย อาทิ subtype H7N7 ที่ก่อความเสียหายในม้า หรือ H3N8 ที่ก่อความเสียหายได้ทั้งในม้าและในสุนัข

อนุภาคไวรัสจะถูกรักษาให้คงสภาพได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยตัวอย่างส่งตรวจที่คาดว่าจะมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนอยู่จะสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำได้นานหลายชั่วโมง เช่นสามารถเก็บที่ 25ºc ได้นานถึง 24ชั่วโมง, ที่อุณหภูมิ 2-8ºc ได้นาน 72 ชั่วโมง และที่อุณหภูมิ -70ºc ได้นานเป็นเดือน ในขณะที่ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ที่พบในตัวอย่างอุจจาระของสัตว์ปีก จะสามารถอยู่ได้ที่อุณหภูมิ 37ºc นานถึง 6 วัน และที่อุณหภูมิ 4ºc นาน 35 วัน และไวรัสจะสามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมบนพื้นผิวดินได้นานเป็นสัปดาห์

การควบคุมและการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพที่สุด จะต้องอาศัย มาตรการ ที่เข้มงวดหลาย มาตรการ ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วและการทำลายไก่ที่ทราบผลการตรวจยืนยันจากทางห้องปฏิบัติการแล้ว การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกและอุปกรณ์การเลี้ยงภายในบริเวณที่พบการระบาด การติดตามเชิงรุกและเฝ้าระวังโรคในพื้นที่รอบ ๆ บริเวณที่พบการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง

วิธีการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการของโรคติดเชื้อไวรัสไข้หวักนก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการด้วยกัน คือ การตรวจหาตัวเชื้อไวรัสก่อโรคหรือการตรวจหาแอนติเจนของไวรัส  และการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีต่อตัวเชื้อไวรัสก่อโรค  ซึ่งวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติจะเป็นวิธีการตรวจที่ต้องอาศัยเวลาในการตรวจและการขนส่งตัวอย่างจากฟาร์มไปยังห้องปฏิบัติการ

ในอดีต สัตวแพทย์หรือผู้ดูแลฟาร์มสัตว์ปีกที่พบกับปัญหาไข้หวัดนก จะดำเนินการวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการป่วย อัตราการป่วย อัตราการตาย และรอยโรค ก่อนที่จะดำเนินการตรวจยืนยันโรคด้วยการวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไปเพื่อเพาะแยกเชื้อไวรัสและพิสูจน์ว่าเชื้อไวรัสที่ก่อโรคคือไวรัสสายพันธุ์ใดในภายหลัง

แต่ในปัจจุบัน สัตวแพทย์หรือผู้ดูแลฟาร์มสัตว์ปีกที่สงสัยว่ามีปัญหาไข้หวัดนก ก็จะสามารถนำชุดตรวจแบบด่วนที่ใช้ง่ายและให้ผลรวดเร็วในการตรวจหาตัวเชื้อไวรัสก่อโรคหรือตรวจหาแอนติเจนของไวรัสไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นประกอบข้อมูลประวัติ อาการป่วยและตาย และรอยโรค ที่ฟาร์มได้แล้ว สัตวแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้องจะทราบผลจากการตรวจได้ภายในเวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น เมื่อรู้ผลไว ก็จะสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น

ในกรณีที่เป็นฟาร์มที่เลี้ยงไก่สำหรับการผลิตเป็นเนื้อไก่เอง ก็จะมีข้อกำหนดจากทั้งของบริษัทและของภาครัฐฯมาคอยควบคุมคุณภาพการเลี้ยงอยู่แล้ว ซึ่งข้อกำหนดข้อหนึ่งก็คือ “ผลิตภัณฑ์จากไก่ที่มาจากฟาร์มนี้ จะต้องปลอดเชื้อไข้หวัดนก” นั่นเอง ดังนั้นฟาร์มที่เลี้ยงไก่เนื้อ เหล่านี้ก็อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องนำชุดตรวจแบบด่วนที่ใช้ง่ายและสามารถให้ผลรวดเร็ว สำหรับตรวจหาตัวเชื้อไวรัสก่อโรคหรือตรวจหาแอนติเจนของไวรัสไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นที่ฟาร์มก่อน เพื่อเสริมความมั่นใจในผลิตภัณฑ์จากฟาร์มของตัวเอง ก่อนที่จะส่งตัวอย่างไปให้หน่วยงานห้องปฏิบัติการของบริษัทคู่สัญญาและหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

จิโรจ ศศิปรียจันทร์. 2553. โรคไข้หวัดนก. โรคสำคัญในไก่. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ. หน้า 16-25.

ภาวพันธ์ ภัทรโกศล และ ประเสริฐ เอื้อวรากุล. ไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก. 2551. โนว์เลจด์ เพรส. กรุงเทพฯ. หน้า 1-359.

Lee CW, Suarez DL, Tumpey TM, Sung HW, Kwon YK and Lee YJ. 2005. Characterization of highly pathogenic H5N1 avian influenza A viruses isolated from South Korea. J Virol. 279:3692–3702.

Swayne, D. E. and Halvorson, D. A. 2008. Infuenza. In: Disease of Poultry. 12th ed. Y.M. Saif, A.M. Fadly,  J.R. Glisson, L.R. McDougald, L.K. Nolan & D.E. Swayne (Eds.). Ames, IA: Blackwell Publishing Professional: 153-184