โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (Porcine epidemic diarrhea; PED) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัสเช่นเดียวกับไวรัสก่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Transmissible Gastroenteritis; TGE) ซึ่งเมื่อสุกรได้รับเชื้อไวรัส PED นี้เข้าไปแล้ว จะแสดงอาการท้องเสียถ่ายเหลว (Watery diarrhea) เนื่องจากไวรัส PED จะเข้าไปทำลายเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ทำให้ทางเดินอาหารพื้นที่ผิวสำหรับการดูดซึมสารอาหารน้อยลง ทำให้เกิดการสูญเสียของเหลว  สุกรทุกช่วงอายุที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือมีภูมิคุ้มกันไม่สูงพอจะสามารถติดเชื้อไวรัส PED และแสดงอาการท้องร่วงได้ในลักษณะของการถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเหลืองแกมเขียวในลูกสุกรหรือสีดําแกมเขียวในสุกรใหญ่  สำหรับสุกรใหญ่ที่เกิดปัญหาท้องเสียจากากรติดเชื้อไวรัส PED จะสามารถฟื้นกลับเป็นปกติได้เองภายใน 2‐3 วัน โดยไม่ต้องทําการรักษาใดๆ  แต่สำหรับในสุกรอายุไม่เกิน 2‐3 สัปดาห์จะแสดงอาการอาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง มีภาวะขาดน้ำ ร่างกายยิ่งทรุดโทรม เกิดภาวะช๊อคและอาจจะรุนแรงจนถึงขึ้นเสียชีวิตได้ โดยยิ่งสุกรอายุน้อยเท่าไรก็จะมีความยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายยังไม่เจริญเติบโตพอที่จะสามารถชดเชยภาวะขาดน้ำและภาวะขาดสารอาหารจากการติดเชื้อไวรัส PED ได้

แนวทางการควบคุมโรคเมื่อเกิดปัญหาท้องเสียในสุกรหลายกลุ่มอายุพร้อมๆกัน โดยเฉพาะในลูกสุกรดูดนมจะแสดงลักษณะเด่นคืออาเจียนเป็นนมที่แข็งตัวแล้วตามมาด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเหลืองแกมเขียว ผู้ดูแลสุกร สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องรีบนำตัวอย่างลูกสุกรป่วย 2-3 ตัว (แช่น้ำแข็ง) หรือตัวอย่างอุจจาระของลูกสุกรป่วยจำนวน 3-4 ตัวอย่าง (แช่น้ำแข็ง) ส่งตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันโดยเร็วที่สุด  ถ้าพบว่าเป็นการระบาดของโรค PED จริง ก็อาจจะเผื่อใจไว้บางส่วนสำหรับการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงกับลูกสุกรอายุไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่ก็จะต้องรีบดำเนินการรักษาตามอาการเพื่อลดความรุนแรงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในเล้าคลอดอย่างสุดความสามารถด้วยเช่นกัน  โดยการรักษาตามอาการป่วยนั้นก็สามารถทำได้ตั้งแต่การป้อนยาปฏิชีวนะเพื่อลดปัญหาติดเชื้อ E. coli แทรกซ้อน การป้อนยา kaolin หรือ pectin เพื่อช่วยสมานแผลและลดการอักเสบของผนังลําไสเล็ก การให้สารน้ำหรือสารละลายอิเล็คโทรไลต์เพื่อบรรเทาภาวะการขาดน้ำ  และมาตรการสุดท้ายคือจะต้องรีบกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรค PED ให้กับแม่สุกรที่ยังอุ้มท้องอยู่ทั้งหมดโดยเร็วที่สุด เพื่อหวังผลว่าแม่ที่จะเข้าคลอดในช่วง 2 สัปดาห์หลังจากนี้จะมีภูมิคุ้มกันและสามารถส่งผ่าน IgA ไปทางนมน้ำเหลืองได้ ซึ่งถ้าทำสำเร็จ ลูกที่เกิดจากแม่เหล่านี้ก็จะมีอาการป่วยน้อยลงและเกิดความเสียหายลดลงอย่างชัดเจน

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค PED วิธีการทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาตัวไวรัสหรือแอนติเจนนั้น ส่วนมากจะเป็นวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ต้องใช้เวลาสำหรับการดำเนินการตรวจต่างๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการแยกเชื้อไวรัสด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ต้องใช้เวลาหลายวัน การตรวจหาแอนติเจนของไวรัสด้วยการย้อมสีทางจุลพยาธิวิทยาหรือการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี RT-PCR ที่ต้องเวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน  ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่ทำงานในวงการสุกรมานานหรือผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็อาจจะอาศัยประสบการณ์ในการวินิจฉัยเบื้องต้นจากลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นและลักษณะน้ำอุจจาระเหลวของลูกสุกรไปก่อน เพื่อที่จะได้ดำเนินการรักษาตามอาการเพื่อลดความรุนแรงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไปก่อนล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับการยืนยันจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเสียอีก แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ยังมีทั้งโรค TGE และ Rota ที่สามารถทำให้สุกรท้องเสียได้เหมือนกัน  ดังนั้นนอกจากประสบการณ์แล้ว สัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจึงได้นำชุดตรวจสำเร็จรูปสำหรับตรวจหาแอนติเจนของไวรัส PED จากตัวอย่างอุจจาระและลำไส้จากลูกสุกรที่สงสัย มาใช้สำหรับการวินิจฉัยเบื้องต้นที่ฟาร์มร่วมด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มความรวมเร็วและความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค และก็จะสามารถตัดสินใจดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ชุดทดสอบที่แนะนำ

เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ยังมีทั้งโรค TGE และ Rota ที่สามารถทำให้สุกรท้องเสียได้เหมือนกัน ดังนั้น นอกจากประสบการณ์แล้ว สัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจึงได้นำชุดตรวจสำเร็จรูปสำหรับตรวจหาแอนติเจนของไวรัส PED จากตัวอย่างอุจจาระและลำไส้จากลูกสุกรที่ป่วยและน่าสงสัยเป็น PED มาใช้สำหรับการวินิจฉัยเบื้องต้นที่ฟาร์มร่วมด้วย เนื่องจากใช้งานง่าย สามารถทราบผลได้รวดเร็ว และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยาก เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค สามารถช่วยในการตัดสินใจดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

BIONOTE Anigen Rapid PED Ag test kit
☑️ ชุดทดสอบสำเร็จรูปแบบ Lateral flow
☑️ ใช้ตรวจด้วยวิธีสวอป (Swab)
☑️ ให้ผลเชิงคุณภาพแบบพบ/ไม่พบ
☑️ ใช้เวลาทดสอบเพียง 15 นาที

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดทดสอบ

วิธีการใช้งานชุดทดสอบ